วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บทที่ ๓ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเดินทางนักท่องเที่ยว

บทที่ ๓ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเดินทางนักท่องเที่ยว
ทฤษฎีต่างๆ เกี่ยวกับแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว
๑. ทฤษฎีลำดับขั้นแห่งความต้องการการจำเป็น ( Hierarchy of needs )
ทฤษฎีนี้เป็นของ Maslow นำมาอธิบายพฤติกรรมต่างๆของการท่องเที่ยว Maslow ได้กล่าวไว้ว่ามนุษย์จะแสดงพฤติกรรมต่างๆเพื่อตอบสนองความต้องการและการจำเป็นต่างๆ Maslow ได้เสนอความต้องการของมนุษย์ทั้งหลายไว้ ๕ ขั้น ดังนี้
- ความต้องการทางด้านวัฒฯธรรม
- ความต้องการความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต
- ความต้องการด้านสังคม
- ความต้องการด้านที่จะมีชื่อเสียงเกียรติยศ
- ความต้องการความสำเณ็จแห่งตน
๒. ทฤษฎีขั้นบันไดแห่งการเดินทาง ( Travel Career Ladder )
ทฤษฏีนี้คือ Philip Pearce โดยประยุกต์จากของ Maslow
ดังนี้
ความต้องการที่จะได้รับความพึงพอใจอย่างสูงสุด
ผู้อื่นกำหนด
ความตื่นเต้น ความน่าพิศวง ความแปลกใหม่ ความเย้ายวนใจ
ตัวเองกำหนด
ความต้องการลิ้มรส ความหิวกระหาย ความต้องการ การผ่อนคลาย
ความต้องการความปลอดภัยมั่นคง
ผู้อื่นกำหนด
ความต้องการความต้องการความปลอดภัยเช่นคนอื่น
ตัวเองกำหนด
ความต้องการที่จะดำรงชีวิตอยู่อย่างมั่นคง มีความปลอดภัย ความต้องการที่จะคาดคะเนถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและอธิบายความเป็นไปของโลก
ความต้องการสร้างสัมพันธภาพ
ผู้อื่นกำหนด
ความต้องการที่จะรับความเป็นมิตรที่ผู้อื่นหยิบยื่นให้
ตังเองกำหนด
ความต้องการที่จะเป็นมิตรและความรักแก่ผู้อื่น ความต้องการที่จะมีเพื่อน มีคนรู้จักรู้ใจ
ความต้องการความภาคภูทิใจและการพัฒนาตนเอง
ผู้อื่นกำหนด
ความต้องการการยอมรับนับถือจากผู้อื่น ความต้องการมีสถานนภาพอย่างที่คนอื่นมี ความต้องการประสบความสำเร็จเช่นคนอื่น
ตัวเองกำหนด
ความต้องการที่จะพัฒนาทักษะของตนเอง ความต้องการที่จะเรียนรู้ความอยากรู้อยากเห็นความต้องการที่จะมีชัยชนะและทำสิ่งต่างๆได้สำเร็จ ความต้องการที่จะพิชิต
ความต้องการที่จะได้รับความพึงใจอย่างสูงสุด
ความต้องการความสำเร็จแห่งตน และความต้องการที่จะได้รับประสบการณ์อันหลากหลาย
แรงจูงใจวาระซ่อนเร้น ( Hidden Agenda ) ของ Crompton
ความต้องการจำเป็นในขั้นความต้องการทางด้านสังคมของ Maslow แรงจูงใจวาระซ่อนเร้นของ Crompton มี ๗ ประเภทดังต่อไปนี้
๑.การหลีกหนีจากสภาพแวดล้อมที่จำเจ ( Escape from mundance environment )
๒.การสำรวจและการประเมินตนเอง ( Exploration and evaluation of self )
๓. การพักผ่อน ( Relaxation )
๔.ความต้องการเกียรติภูมิ ( Pretige )
๕.ความต้องการที่จะถอยกลับสู่สภาพดั้งเดิม ( Regression)
๖. กระชับความสัมพันธ์ทางเครือญาติ ( Enhancement of kinship relationship )
๗. การเสริมสร้างการปะทะสังสรรค์ทางสังคม ( Facilitation of social interaction )
แรงจูงใจในทางท่องเที่ยวในทัศนะของ Swarbrooke
๑.แรงจูงใจในด้านสรีระหรือทางกายภาพ
๒. แรงจูงใจทางด้านวัฒณธรรม
๓. การท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองอารมณ์ความรู้สึกบางอย่าง
๔. การท่องเที่ยวเพื่อให้ได้มาเพื่อสถานะภาพ
๕. แรงจูงใจในการพัฒนาตนเอง
๖. แรงจูงใจส่วนบุคคล
แนวโน้มของแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว
๑. แรงจูงใจที่จะได้สัมผัสสิ่งแวดล้อม
๒. แรงจูงใจที่จะได้พบปะคนในท้องถิ่น
๓. แรงจูงใจที่จะเข้าใจในวัฒณธรรมท้มองถิ่นและประเทศเจ้าบ้าน
๔. แรงจูงใจที่จะเสริมสร้างสัมพันธภาพภายในครอบครัว
๕. แรงจูงใจที่จะได้พักผ่อนในสถาพแวดล้อมที่น่าสบาย
๖.แรงจูงใจที่จะที่จะได้ได้ทำกิจกรรมที่นัก่องเที่ยวสนใจฝึกทักษะ
๗. แรงจูงใจที่จะมีสุขภาพดี
๘. แรงจูงใจที่จะได้รับการคุ้มครองและความปลอดภัย
๙.แรงจูงใจที่จะได้รับการยอมรับนับถือและได้รับสถานภาพทางสังคม
๑๐. แรงจูงใจที่จะให้รางวัลแก่ตัวเอง
ตัวอย่างการวิจัยที่ใช้วิธีการศึกษาจากกลุ่มเป้าหมาย
๑. การหลีกหนี
๒. การมุ่งเน้นในเรื่องสิ่งแวดล้อม
๓. การทำงาน
๔. เน้นการคบหาสมาคม
โครงสร้างพื้นฐานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
๑.ระบบไฟฟ้า
๒.ระบบปะปา
๓.ระบบสื่อสารโทรคมนาคม
๔. ระบบการขนส่ง
๕. ระบบสาธารณสุข
ที่มา : วรรณา วงษ์วานิช. ๓ูมิศาสตร์การท่องเที่ยว. กรุงเทพ.
ดรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,๒๕๔๖.สำนักงานสภาการศึกษา.ความหมายของวัฒนธรรม
เอกสารประกอบคำสอนวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว HT 201









บทที่ ๖ ที่พักแรม

บทที่ ๖
ที่พักแรม
ธรุกิจที่พักแรมในสากล / ต่างประเทศ
รูปแบบที่พักแรมก็ได้รับการออกแบบให้มีขนาดใหญ่ขึ้นและพัฒนาเป็นรูบแบบโรงแรมรถไฟ (Railway Hotels ) ชึ่งให้ความสะดวกสบายแก่ผู้เดินทางที่มีฐานะมากขึ้น นอกจากนี้ รถไฟยังช่วยให้นักศึกษาให้นักท่องเที่ยวเข้าถึงเมืองตากอากาศที่อยู่ห่างไกลได้สะดวกยิ่งขึ้น ทำให้รูปแบบที่พักแบบรีสอร์ท ( Resort )

ธรุกิจที่พักแรมในประเทศไทย

- โอเรียนเต็ลโฮเต็ล ( Oriental Hotel ) สร้างในสมัย รัชกาลที่ ๕ โดยกลาสีเรือชาวต่างชาติ เป็นเพียงอาคารไม้ชั้นเดียว
- โฮเต็ลหัวหิน หรือ โรงแรมรถไฟหัวหิน สร้างเสร็จในปี พ.ศ.๒๔๖๕ ในสมัย รัชกาลที่๖ โดยกรมรถไฟทางหลวง
- โฮเต็ลพญาไท เป็นฝดรงแรมหรูหราในสมัยรัชกาลที่ ๗ โดยปรับปรุ่งจากพระราชวังพญาไท
- โรงแรมรัตนโกสินทร์ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๕ ในสมัยรัชกาลที่ ๘ บนถนนราชดำเนินกลาง ใกล้สะพานผ่านพิภาพลีลา พร้อมกับ โรงแรมสุริยานนท์
ปัจจัยพื้นฐานในการบริการที่พักแรม
- ความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้พักแรม
- ความสะอาดและสุขภาพอนามัยในสถานที่พัก
- ความสะดวกสบายจากบริการสิ่งอำนวยความสะดวก
- ความเป็นส่วนตัว
- บรรยากาศการตกแต่งสวยงาม
- ภาพลักษณ์ของกิจการ และอื่นๆ
ประเภทที่พักแรม
๑. โรงแรม ( Hotel ) เป็นที่พักแรมที่นิยมมากที่สุดในหมู่นักท่องเที่ยวทั่วไป โรงแรมมาตรฐานสากลจะมีรูปแบบการดำเนินการเป็นแบบแผน
๒. ที่พักนักท่องเที่ยว บ้านพักเยาวชน หรือ โฮสเทล ( Youth Hostels ) เป็นที่พักแบบราคาประหยัด ในประเทศไทยมีการจัดตั้งสมาคมบ้านเยาวชนแห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ.๒๕๐๓ และมีสมาชิกบ้านพักกระจายอยู่ในจังหวัดภูมิภาคต่างๆ
- ที่พักพร้อมอาหารราคาประหยัด
- ที่พักริมทางหลวง
- ที่พักแบบจัดสรรเวลาพัก
- เกสต์เฮาส์ ( Guesthouse )
- อาคารชุดบริการที่พักแรมระยะยาว หรือ เชอร์วิสอพาร์ตเม้นต์ ( Serviced apartment)
- ที่พักกลางแจ้ง ( Camp site / Caravan site )
- โฮมสเตย์ ( Homestay )
ที่มา : เอกสารประกอบการเรียนการสอน อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว HT 201


















บทที่ ๕ การคมนาคมขนส่ง

บทที่ ๕
การขนส่งคมนาคม ( Transportation )
การคมนาคม หมายถึง กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายคน สัตว์ สิ่งของจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยสื่อกลางต่างๆ ภายใต้และราคาที่กำหนดตกลงกันไว้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การคมนาคมขนส่งจะต้องเป็นกิจกรรมที่ต้องมีการขนส่ง ( คน สัตว์ สิ่งของ) จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งการขนส่งนั้นต้องอาศัยอุปกรณ์ต่างๆ ( ยานพาหนะ) การขนส่งนั้นต้องป็นไปตามความต้องการของผู้ที่ต้องการใช้บริการ
พัฒนาการขนส่งทางบก
เริ่มขึ้นในสมัย ๒๐๐ ปีก่อนคริสตกาล หรือยุคบาบิลอนชึ่งใช้คนลากรถสองล้อ ไปบนถนน ก่อนที่จะนำสัตว์เช่น วัว ลา มาช่วยลากรถสองล้อในยุคอียุปต์และกรีก จนกระทั่งในยุคโรมันได้พัฒนาพร้อมกับการสร้างถนนเชื่อมระหว่างเมืองและรัฐต่างๆในยุคนั้น ต่อมาปี ค.ศ.๑๖๐๐ ก็ได้มีการบริการขนส่งโดยรถม้าโดยสารนี้เป็นประจำในฤดูร้อนระหว่างเมือง London และ Oxford
ช่วงต้นศตวรรษที่ ๑๘ ได้มีการ ประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำ (Steam Engine )
พัฒนาการขนส่งทางน้ำ
ประมาณ ๔๐๐๐ ปีก่อนคริสตกาล ได้มีการพัฒนาเรือให้สามารถนำมาใช้หาปลาตามชายฝั่งในบริเวณเขตทะเลเมดิเตอร์เรเนียน จวบจนกระทั่งในสมัยของชาวฟินิเชียน
การขนส่งผู้โดยสารทางเรือเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.๑๘๑๕ ได้มีการบริการท่องเที่ยวด้วยเรือสำราญอังกฤษชื่อ ซีลอน ของบริษัท Peninsula Oriental Steam วิ่งในเส้นทางทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและเมืองท่าในอิตาลี กรีซ อียิปต์ และอาฟริกาตะวันตก ต่อมามีการต่อเรือสำราญที่สมบูรณ์แบบ ขนาดกว้างชื่อ Princesses Victoria Louis ในปี ค.ศ.๑๙๐๐ เป็นที่มาของเรือยอดซ์ เรือสำราญที่มีราคาแพง จนกระทั่งในปี ค.ศ. ๑๘๑๙ มีเรือที่สามารถเดินทางข้ามมหาสมุทรเป็นครั้งแรกได้คือ เรือกล Savannah เป็นเรือที่แล่นระหว่างเมือง Savannah รัฐจอร์เจียกับเมือง Liverpool ประเทศอังกฤษโดยใช้เวลา ๒๙ วัน ในประเทศไทย เริ่มจากการใช้เรือขนาดเล็กเพื่อทำการประมง และขนส่งสิ้นค้าภายในประเทศ ต่อมาได้มีการขยายการค้ากับประเทศจีน ก็ได้รับรูปแบบและการเดินเรือมาจากประเทศจีน
พัฒนาการขนส่งทางอากาศ ( Air Transportation )
หลังจากปี ค.ศ. ๑๙๐๓ ซึ่งเป็นปีที่สองพี่น้อง Wright ได้คิดค้นประดิษฐ์เครื่องบิน ออกมาใช้บินเป็นครั้งแรก ก็ได้พยามปรับปรุงและได้ผลิตออกมาใช้ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๑
ประเภทของธรุกิจการคมนาคมขนส่งเพื่อการท่องเที่ยว
๑.ธรุกิจการขนส่งทางบก
- การเดินทางท่องเที่ยวโดยรถไฟ
- การเดิินทางท่องเที่ยวโดยรถยนต์ส่วนบุคคล
- การเดินทางเที่ยวโดยรถเช่า
- ธรุกิจการเช่ารถ
- รถโดยสารเพื่อการเดินทางท่องเที่ยว
๒.ธรุกิจการขนส่งทางน้ำ ( Water transportation)
๓.ธรุกิจการขนส่งทางอากาศ ( Air Transportation )
ที่มา
เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว HT 201 มหาวิทยาลัยธรุกิจบัณทิตย์

วันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บทที่ ๔ องค์ประกอบสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

บทที่ ๔
องค์ประกอบสำคัญของการท่องเที่ยว
ทรัพยากรทางการท่องเที่ยว ( Touriam Resources )

รูปธรรมและนามธรรม ซึ่งมนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์
จุดหมายปลายทาง (Destination)
หมายถึง สถานที่ใดที่หนึ่ง อาจเป็นสถานที่เฉพาะ หรือสถานที่ต่อการเดินทางครั้งหนึ่ง
สิ่งที่ดึงดูดใจนักท่องเที่ยว (Tourism Attraction )
สถานที่ที่มีศักยภาพในการดึงดูดให้ผู้คนเดินทาง เข้าไปเยี่ยมชม หรือประกอบกิจกรรม เพื่อให้ได้รับความพึ่งใจ
นิยามของแหล่งท่องเที่ยว
สถานที่ที่มีศักยภาพ ในการดึงดูดนักท่องเที่ยวเดินทาง เข้ามาท่องเที่ยวหรือประกอบกิจกรรมต่างๆ เพื่อตอบสนองต่อจุดประสงค์เพื่อความพึงพอใจ
ประเภทของแหล่งท่องเที่ยว
ขอบเขต SCOPE
- จุดมุ่งหมายหลัก Primary Destination คือ สถานที่ดึงดูดใจเพื่อนำนักท่องเที่ยวไปเยือน
- จุดมุ่งหมายรอง Secondary Destination or Stopover Destination คือ สถานที่แวะพักหรือเยี่ยมชมระหว่างการเดินทาง ส่วนมากเป็นระยะเวลาสั้นๆ
ความเป็นเจ้าของ
- รัฐบาล Government
- องค์การที่ไม่หวังผลกำไร Nonprofit Organization
- เอกชน Private Norm Polovitz Nickerson : 187
ความคงทนถาวร Permanency
- ประเภทที่เป็นสถานที่ Sites
- ประเภทที่เป็นงานเทศกาลหรือกิจกรรมต่างๆ Festivals or Events
ศักยภาพในภาพในการดึงดูดนักท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยวแต่ละแห่งจะสนองความต้องการ หรือจุดประสงค์ของนักท่องเที่ยวต่างกันไปเพื่อสนองความต้องการ
ประเภทของแหล่งท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติ
สถานที่ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ทั้งด้านชีวภาพ และกายภาพรวมทั้งบริเวณที่มนุษย์เข้าไปปรับปรุงแต่งเพิ่มเติมจากสภาพธรรมชาติในบ้างส่วน ซึ่งทรัพยากรประเภทนี้ไม่มีต้นทุนทางการผลิตแต่มีต้นทุนในการดูแลรักษา
แหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น
คือ สถานที่ที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างและอายุ รวมทั้งรูปแบบสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกันไป
กรมศิลปากร แบ่งโบราณสถาน ๗ ประเภท
๑.โบราณสถานสัญลักษณ์แห่งชาติ ( เรื่องราวสำคัญของบุคคลในประวัติศาสตร์ )
๒.อนุสรณ์สถานแห่งชาติ ( เรื่องราวสำคัญของแต่ละบุคคลในประวัตืศาสตร์ )
๓.สถาปัตยกรรมแห่งชาติ ( คุณค่าอย่างสูงสุดทางศิลปะ )
๔.ย่านประวัติศาสตร์ ( เรื่องราวในประวัติศาสตร์ )
๕.อุทยานประวัติศาสตร์
๖.นครประวัติศาสตร์แห่งชาติ ( สาระสำคัญทางประวัติศาสตร์ )
๗.โบราณสถาน ( แสดงหลักฐานในอดีต)
ที่มา
เอกสารการสอนชุดวิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวหน่วยที่ ๘-๑๕. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช ๒๕๔๔.
นิคม จารุมณี. การท่องเที่ยวและการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว. กรุงเทพ,๒๕๔๔
J.Christopher Holloway. THE BUSINESS OF TOURISM. 6 edition . London,2002
Leonard J. Lickorish and Carson L .Jenkins. An Introduction to Tourism. Oxford : 1997
Robert Christie Mill and Alasrair M. Morrison. The Tourism System : An Introduction Text.New Jersey,1992
Norma Polovitz Nickesrson.Foundations of Tourism.New Jersey,1996.







วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บทที่ ๒ ประวัติศาสตร์การท่องเที่ยวจากยุคเริ่มต้นถึงช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒

นักท่องเที่ยวชาวกรีกมีการเดินทางเพื่อท่องเที่ยวเมื่อประมาณ ๓๐๐ ปีก่อนคริสตกาล หรือ ๒๓๐๐ ปีมาแล้ว เนื่องจากกรีกมีการปกครองในแบบนครรัฐ (City State ) ที่เป็นอิสระต่อกันจึงไม่มีผู้มีอำนาจปกครองส่วนกลางที่จะสั่งให้มีการสร้างถนน นักท่องเที่ยวส่วนมากจึงเดินทางเรือสินค้าต่างๆ ในช่วง ๕๐๐ ปีก่อนคริสตกาล กรุงเอเทนส์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญสำหรับนักท่องเที่ยวที่เข้าชมสถานที่สำคัญ เช่น The Parthenon และมีที่พักแรมประเภทต่างๆ เกิดขึ้นซึ่งจะปลูกสร้างในบริเวณใกล้วัดในเมืองใหญ่ๆ และเมืองท่าและให้บริการแก่นักท่องเที่ยว

ชาวโรมันก็มีการเดินทางกันอย่างกว้างขวางตั้งแต่ ๓๐๐๐ ปีก่อนคริสตกาลเนื่องจากความกว้างขวางและยิ่งใหญ่ของโรมัน เมื่อถึงคริสศตรรษที่ ๓ ชาวโรมันก็ได้เดินทางไปจนถึงดินแดนอันศักดิ์สิทธ์ ( The Holy Land )

การท่องเที่ยวในยุคกลาง
ยุคกลางคือช่วง คศ.๕๐๐-๑๕๐๐ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ยุคมืดถนนหนทางถูกปล่อยให้ทรุดโทรมเศรษฐกิจตกต่ำแต่ศาสนาจักรโรมันคาทอลิค ยังคงเป็นศูนย์รวมของสังคม
คนชั้นสูงและคนชั้นกลางนิยมเดินทางเพื่อการแสวงบุญ ( Pilgrimage ) เป็นการเดินทางที่ไกลขึ้นสำหรับผู้ที่เคร่งศาสนา
ปัญหาที่นักเดินทางในยุคกลางต้องเผชิญคือ โจรร้ายคอยดักปล้นนักเดินทางมัคคุเทศก์ในสมัยนั้นจึงต้องทำหน้าที่เป็นผู้นำทาง ( Pathfinder ) และเป็นทั้งผู้ปกป้องนักเดินทาง
การพัฒนาการคมนาคมทางถนนในคริสศตวรรษที่ ๑๗ ถึงต้นสมัยศตวรรษที่ ๑๙
การพัฒนารถม้า ๔ ล้อ ที่มีระบบกันสะเทือนด้วยสปริงนับเป็นก้าวหน้าครั้งใหญ่สำหรับคนที่ต้องการเดินทาง การประดิษฐ์รถที่มีระบบกันสะเทือนอย่างง่ายที่สุดสามารถสืบย้อนไปได้เมือง Kocs ในประเทศฮังการี ในศตวรรษที่ ๑๕ และในต้นศตวรรษที่ ๑๗ ( คศ.๑๕๐๕ ) รถม้า ตู้ทึบชนิด ๔ ล้อ ก็มีการวิ่งบริการในอังกฤษที่มีวิ่งประจำทุกวันในเส้นทางระหว่างกรุงลอนถึง อ๊อกซฟอร์ด
การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวประเภทที่อาบน้ำแร่ ( Spa )
ใน ค.ศ.๑๕๖๒ Dr.William Turner ได้ตีพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับสรรพคุณของน้ำแร่ที่เมือง Bath และที่อื่นๆ ใทวีปยุโรปว่ามีสรรพคุณรักษาโรคได้ การเดินทางไปรับการบำบัดด้วยน้ำแร่ได้กลายมาเป็นสถานภาพทางสังคมอย่างรวดเร็วทำให้บรรดาสถานบำบัดทั้งหลายเปลี่ยนโฉมหน้าจากสถานรักสุขภาพไปเป็นสถานเพื่อความเพลิดเพลินแทน
กำเนิดยุคสถานที่ตากอากาศชายทะเล
การอาบน้ำทะเลเพิ่งจะเริ่มเป็นที่นิยมในอังกฤษตั้งแต่สมัยพื้นฟูศิลปะวิทยาการ ( Renaissance ) การอาบน้ำทะเลเริ่มต้นขึ้นจากสาเหตุผลทางด้านสุขภาพ
ปัจจัยที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวในศตวรรษที่ ๑๙
การขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจของประเทศอังกฤษ อันสืบเนื่องมาจากผลิตผลจากการปฎิวัติอุตสาหกรรมนำไปสู่อำนาจในการชื้อขายเพิ่มขึ้นในหมู่คนงานทุกคน ในขณะที่ความต้องการสินค้าจากอังกฤษ ก็ก่อให้เกิดตลาดการเดินทางธรุกิจขนาดใหญ่ขึ้น ความมั่งคั่งที่เพิ่มขึ้นของประชากรสูงขึ้นเช่นเดียวกัน
ยุคของเครื่องจักรไอน้ำ : กำเนิดการเดินทางทางรถไฟ
ทางรถไฟสายแรกถูกสร้างขึ้นในประเทศอังกฤษในปี ค.ศ.๑๘๒๕ ระหว่างเมือง Stockton และDarlington นับเป็นจุดหักเหในเรื่องรูปแบบของการเดินทาง
เรือกลไฟ
เทคโนโลยีสมันใหม่ก็ทำให้เกิดการพัฒนาเรือกลไฟเพื่อการเดินทางน้ำ การพัฒนาจะเริ่มมีการบริการตั้งแต่ปี ๑๗๖๑ ระหว่างเมือง Brighton ในอังกฤษ Dieppe ในฝรั่งเศส แต่เรือกลไฟเพื่อการค้าข้ามช่องแคมที่อยู่วิ่งประจำเพิ่งเริ่มต้น ในปี ๑๘๒๑
การท่องเที่ยวในศตวรรษที่ ๒๐ ช่วงที่ ๕๐ ปีแรก
รูปแบบการเดินทางเปลี่ยนไป ความนิยมในการเดินทางด้วยรถไฟลดลงเพราะคนนิยมเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวมากขึ้น มีการพัฒนาถนน พัฒนารถบรรทุกที่ขนสัมภาระในสงคราม ให้เห็นเป็นรถ Coach พาหนะแบบนี้ได้รับความนิยมมากในช่วงทศวรรษที่ ๑๙๒๐แบบหรูของบริษัท Motorways แบบนั่งสบายขนาด ๑๕ ที่นั่ง มีบาร์และห้องน้ำ ยี่ห้อ Pullman วิ่งบริการในยุโรปและแอฟริกาเหนือ นำเที่ยวซาฟารีในแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันออก การกำเนิดอุตสาหกรรมการบินในระยะแรกเป็นสัญญาณบ่งบอกให้เห็นถึงจุดเริ่มต้นของการสิ้นสุดของบริการทางรถไฟและเรือกลไฟ
การท่องเที่ยวสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒

ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีการบินได้เกิดขึ้นในปี ค.ศ.๑๙๗๐ ในปีนี้ได้มีการเปิดตัวเครื่องบินเจท ลำตัวกว้างรุ่นโบอิ้ง ๗๔๗ ซึ่งสามารถจุผู้โดยสารได้ถึง ๔๐๐ คน การท่องเที่ยวโดยสายบนเครื่องบินได้แพร่หลายมากเพราะให้ความเร็วกว่าเสียง มีการจัดทัวร์เหมาไปยังที่ต่างๆ ในทศวรรษที่ ๑๙๖๐ อย่างแพร่หลาย
395 ปี บันทึกของปินโต หลักฐานประวัติศาสตร์นิพนธ์หรือนิยายผจญภัย
395 Years Pinto’s Pérégrinação an Account of Historiography or Adventurous Novel

อัตชีวประวัติ ของแฟร์เนา เมนเดซ ปินโต( Fernão Mendez Pinto ค.ศ.1509-1583) เรื่อง “Pérégrinação”ถูกตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในปีค.ศ.1614 เป็นเรื่องเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ภูมิประเทศ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และเหตุการณ์บ้านเมืองต่างๆ ศัตรูของโปรตุเกสในยุโรปหรือแม้แต่ชาวโปรตุเกสบางคน บันทึกของปินโตถูกอ้างอิงจากนักประวัติศาสตร์ไทยอย่างกว้างขวางนับตั้งแต่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพมาจนปัจจุบันเมื่อกล่าวถึงบทบาทของทหารรักษาพระองค์ชาวโปรตุเกส และการพระราชทานที่ดินให้พวกเขาตั้งถิ่นฐานและปฏิบัติศาสนพิธีในสมัยอยุธยา จึงเป็นที่มาของการตรวจสอบว่าหนังสือฉบับนี้มีสถานะเป็นหลักฐานประวัติศาสตร์นิพนธ์หรือเป็นเพียงนิยายผจญภัย
อัตชีวประวัติ
ปินโตเป็นชาวเมืองมองเตอมูร์เก่า (Montemor-o-velho) ใกล้เมืองกูอิงบรา (Coinbre) ในราชอาณาจักรโปรตุเกส ปินโตเกิดในครอบครัวยากจนระหว่างค.ศ. 1509-1512 เมื่ออายุประมาณ 10 หรือ 12 ขวบจึงต้องเป็นเด็กรับใช้ของสุภาพสตรีผู้หนึ่ง ในค.ศ. 1523 ชีวิตของเขาตกอยู่ในอันตรายจนต้องหลบหนีลงเรือจากเมืองกูแอ ดึ แปดรา (Cue de Pedra) การผจญภัยของปินโตเริ่มขึ้นเมื่อเดินทางไปถึงเมืองดิว (Diu) ในอินเดียในค.ศ.1538 ขณะมีอายุได้ 28 ปี เขาเดินทางกลับมาตุภูมิเมื่อวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1558 รวมเป็นเวลา 21 ปีของการแสวงโชคในเอเชีย ปินโตเคยเดินทางไปในเอธิโอเปีย จีน อาณาจักรของชาวตาร์ตาร์ (Tataria) โคชินไชนา สยาม พะโค ญี่ปุ่น และหมู่เกาะอินเดียตะวันออกในน่านน้ำอินโดนีเซียปัจจุบัน ปินโตเคยเผชิญปัญหาเรืออับปาง 5 ครั้ง ถูกขาย 16 ครั้งและถูกจับเป็นทาสถึง 13 ครั้ง ชีวิตในเอเชียของปินโตเคยผ่านการเป็นทั้งกลาสีเรือ ทหาร พ่อค้า ทูตและนักสอนศาสนา (missionary) เมื่อเดินทางกลับไปถึงโปรตุเกสในปีค.ศ.1558 เขาจึงพยายามติดต่อขอรับพระราชทานบำเหน็จรางวัล เนื่องจากได้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อชาติและศาสนาอย่างเต็มที่ แต่กลับไม่ได้รับความสนใจจากราชสำนัก ปินโตจึงไปใช้ชีวิตอยู่ที่เมืองปรากัลป์ (Pragal) ใกล้เมืองอัลมาดา (Almada) ทางใต้ของโปรตุเกส ปินโตเขียนหนังสือชื่อ “Pérégrinação”ขึ้น และถูกตีพิมพ์หลังจากเขาถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1583 งานเขียนของปินโตตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ.1614 และแปลเป็นภาษาต่างๆ อาทิ ภาษาฝรั่งเศส (1628) ภาษาอังกฤษ (1653) ใน ค.ศ.1983 กรมศิลปากรได้เผยแพร่บันทึกของปินโตบางส่วนในชื่อ “การท่องเที่ยวผจญภัยของแฟร์นังด์ มังเดซ ปินโต ค.ศ1537-1558” แปลโดยสันต์ ท. โกมลบุตร ต่อมากรมศิลปากรร่วมกับกรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการได้ตีพิมพ์ผลงานบางส่วนของเขาออกเผยแพร่อีกครั้งใน ค.ศ.1988 โดยแปลจากหนังสือชื่อ “Thailand and Portugal : 470 Years of Friendship”

คุณค่าทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับราชอาณาจักรสยาม
นับเป็นเอกสารสำคัญที่กล่าวถึงเรื่องราวส่วนหนึ่งเกี่ยวกับทรัพยากร การทหาร วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ กฎหมายและเรื่องราวในราชสำนักสยามกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 และมักจะถูกอ้างอิงเสมอเมื่อกล่าวถึงบทบาททางการทหารของชุมชนโปรตุเกสในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช (ค.ศ.1543-1546) เมื่อเกิดศึกระหว่างสยามกับเชียงใหม่ขึ้นใน ค.ศ.1548 (พ.ศ.2091) ปินโต
ความน่าเชื่อถือ
หนังสือของปินโตถูกตีพิมพ์เผยแพร่อย่างกว้างขวางในยุโรป จึงเป็นเหตุให้เขาถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง วิลเลียม คอนเกรฟ (William Congreve, 1670-1729) นักเขียนบทละครชาวอังกฤษได้แทรกบทกวีในบทละครชื่อ “Love for Love” (ค.ศ.1695) เยาะเย้ยว่า “Mendez Pinto was but a type of thee, thou liar of the first magnitude.” (กรมศิลปากร, 2526 : 42 ) เซอร์ ริชาร์ด เบอร์ตัน ( Sir Richard Burton) นักประวัติศาสตร์ไทยหลายคนเลือกใช้ข้อมูลของปินโตมาอ้างอิงโดยตลอด อาทิ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา มานพ ถาวรวัฒน์สกุลในเรื่องขุนนางอยุธยา(2536) อ้างเรื่องยศขุนนางสมัยอยุธยาตอนกลาง สุเนตร ชุตินทรานนท์ในเรื่องบุเรงนองกะยอดินนรธา(2538) ก็อ้างเอกสารของปินโตซึ่งระบุตรงกับราล์ฟ ฟิตซ์ (Ralph Fitch)ว่า พระเจ้าบุเรงนองนำเอาเรื่องการขอช้างเผือกมาเป็นสาเหตุของสงครามระหว่างสยามกับพม่าใน ค.ศ.1569
เอกสารอ้างอิง
นิธิ เอียวศรีวงศ์. 2523. ประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา.
นิธิ เอียวศรีวงศ์และอาคม พัฒิยะ. 2525. หลักฐานประวัติศาสตร์ในประเทศไทย.
มานพ ถาวรวัฒน์สกุล. 2536. ขุนนางอยุธยา.
ราชบัณฑิตยสถาน. 2550. กฎหมายตราสามดวงฉบับราชบัณฑิตยสถานเล่ม1.
วิชาการ. กรม . 2531. 470 ปีสัมพันธไมตรีระหว่างไทยและโปรตุเกส.
ศิลปากร. กรม. 2536. การท่องเที่ยวผจญภัยของแฟร์นังด์ มังเดซ ปินโต ค.ศ.1537-1558.
สันต์ ท. โกมลบุตร(แปล). 2510.จดหมายเหตุลาลูแบร์ฉบับสมบูรณ์ เล่ม 1.
สุเนตร ชุตินทรานนท์. 2538. บุเรงนองกะยอดินนรธา.
Campos, Joaquim de. 1959. “Early Portuguese accounts of Thailand” Journal of The Siam
Society Volume VII.
Cogan, Henry. trans. 1653. The Voyages and Adventures of Fernand Mendez Pinto.
Collins, The. 1987. English Portuguese Portuguese English Dictionary.
Hutchinson, E.W. 1940. Adventurers in Siam in the Seventeen Century.
Wood, W.A.R. 1959 . “Fernão Mendez Pinto’s Account of Events in Siam” Journal of The
Siam Society Volume VII.

วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บทที่ 1 ความหมาย ความสำคัญของการท่องเที่ยว

ในปี พ.ศ.๒๕๐๖ ได้มีการประชุมของสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องการเดินทางและการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี ได้ยอมรับข้อเสนอเกี่ยวกับคำจำกัดความของการท่องเที่ยว (IUOTO : The International Union Of Official Travel Organizations หรือการท่องเที่ยวโลก World Tourism Organization,WTO) ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า
๑.เป็นการเดินทางจากที่อยู่อาศัยไปยังที่อื่นชั่วคราว
๒.เป็นการเดินทางด้วยความสมัครใจ
๓.เป็นการเดินทางด้วยวัตถุประสงค์ใดๆก็ตามที่ไม่ใช่เพื่อการประกอบอาชีพและการหารายได้
คำนิยามที่เรียก
๑.ผู้มาเยือน Visitor ผู้ที่เดินทางเพื่อการท่องเที่ยว
๒.นักท่องเที่ยว Tourist ผู้มาเยือนชั่วคราว พักอาศัยอย่างน้อย ๑ วัน
๓.นักทัศนาจร Excursionist ผู้มาเยือนชั่วคราวไม่เกิน ๒๔ ชั่วโมง
กลุ่มนักท่องเที่ยว ได้แก่
๑.ผู้ที่ไม่มีถิ่นพำนักอยู่ในสถานที่ที่ไปเยือน
๒.ผู้ที่มีสัญชาติของประเทศนั้น
๓.ผู้ที่เป็นลูกเรือ ซึ่งไม่มีถิ่นพำนักในสถานที่ที่ไปเยือนและแวะพักเพียงชั่วคราว น้อยกว่า ๒๔ ชั่วโมง
*****นอกจากนี้ยังมีกลุ่มผู้มาเยือนได้อีก เช่นกัน ได้แก่
๑.ผู้มาเยือนขาเข้า Inbound Visitor
๒.ผู้มาเยือนขาออก Outbound Visitor
๓.ผู้มาเยือนภายในประเทศ Domestic Visitor
ประเภทการท่องเที่ยว
๑.การท่องเที่ยวภายในประเทศ Domestic Tourism
๒.การท่องเที่ยวเข้ามาในประทศ Inbound Tourism
๓.ผู้มาเยือนภายในประเทศ Outbound Tourism
การแบ่งตามลักษณะการจัดการเดินทาง
๑.การท่องเที่ยวแบบหมู่คณะ Group Inclusive Tour : GIT
๒.การท่องเที่ยวแบบอิสระ Foreign Individual Tourism : FIT
การแบ่งตามวัตถุประสงค์ของการเดินทาง
๑.การท่องเที่ยวเพื่อความเพลิดเพลินและพักผ่อน
๒.การท่องเที่ยวเพื่อธุระกิจ
๓.การท่องเที่ยวเพื่อวัตถุประสงค์พิเศษ
ที่มา :Holloway J. Christopher. The business of Tourism LONDON : Pearson Education Limited,2002 p.1 and Lickorish J. Leonard and Jenkins L. Carson.An Interoduction to Tourism Oxford : Reed Educational and professional Publishing,1997 p1
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. เอกสารประกอบการสอนชุดวิชา ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว(ปากเกร็ด : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,๒๕๔๕)หน้า ๗๕.
มหาวิทยาลัยธุระกิจบัณฑิตย์. เอกสารประกอบการเรียน อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ประวัติของฉัน

ชื่อ ธิดารัตน์ นามสกุล จาตุรส
ชื่อเล่น ปิ๊ง
วันเกิด 7 ตุลาคม 2533
นิสัย ร่าเริง แจ่มใส เป็นมิตรกับทุกคน
สิ่งที่ชอบ ของที่สวยงาม
สิ่งที่ไม่ชอบ สิ่งที่เป็นพิษภัยต่อตัวเองและไม่ชอบผัก
สีที่ชอบ ดำ ขาว ฟ้า เขียว