วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่ ๙
ผลกระทบของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
เมื่อกล่าวถึง การท่องเที่ยว มักจะนึกถึงผู้คนเดินทางไปตามแหล่งท่องเที่ยวต่างๆไปเยี่ยมญาติ ไปพักผ่อน ซึ่งเป็นการมองเฉพาะด้านของนักท่องเที่ยว แต่น่าจะต้องประกอบไปด้วยด้านของผู้ให้บริการที่จะอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยว
ปัจจุบันมีการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในทางเป็นไปอย่างรวดเร็วจะเห็นได้ว่าหลายประเทศพยายาม นำทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนทรัพยากรทางประวัติศาสตร์ ประเพณีวัฒนธรรมที่ตนมีอยู่มาใช้เป็นวัตถุดิบทางการท่องเที่ยว ทำให้เกิดรายได้เพิ่มมากขึ้น
เนื่องจากการท่องเที่ยวได้ทำรายได้เข้าสู่ประเทศจำนวนมหาศาล นโยบายส่งเสริยมการท่องเที่ยวเป็นนโยบายสำคัญที่รัฐให้การสนับสนุน มาโดยตลอดแต่ถ้าพิจารณาในแง่มุมทรัพยากรธรรมชาติแล้วอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้ส่งผลก่อให้เกิด ปรากฏการณ์ก่อให้เกิดความเสื่อมโสมของทรัพยากรธรรมชาติ และจากที่ประเทศต้องสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมาก ย่อมก่อให้เกิดผลเสียทั้งทางเศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรมในระยะยาวอีกด้วย
ผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อเศษฐกิจ
ด้านบวก

๑. ช่วยให้เกิดรายได้แก่ท้องถิ่นภายในประเทศ ( Local Income ) กิจกรรมการท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก บริการการขนส่ง บริการมัคคุเทศก์ ทำให้รายเกิดรายได้แก่คนในท่องถิ่นโดยร่วมเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงค่าครองชีพในท้องถิ่นเพิ่มขึ้นสูงอีก
๒. ช่วยทำให้เกิดรายได้ต่อรัฐบาล ( Government Receipt ) รัฐบาลมีรายได้จากนักท่องเที่ยวหลายทาง อาทิ การที่นักท่องเที่ยวซื้อสิ้นค้าและบริการในประเทศก็ต้องเสียภาษี การเข้าชมสถานที่ท่องเที่ยวของทางราชกาล เช่น พิพิธภัณฑ์ โบราณสถาน
๓. ช่วยให้เกิดการจ้างงาน ( Employment )ธุรกิจท่องเที่ยว อาทิ ที่พักแรม ร้านอาหาร บริการขนส่ง สถานบันเทิง ร้านจำหน่ายของที่ระลึก การนำเที่ยว
๔. ช่วยให้เกิดอาชีพใหม่ ( Creating new job )ชาวบ้านในท้องถิ่นเดิมอาจมีอาชีพทำนาทำไร่ เปลี่ยนแปลงปรับตัวให้เข้ากับสถานที่ท่องเที่ยว เช่น เมื่อทำนำไร้ก็มาทำเครื่องจักสาน เครื่องมือเครื่องใช้
๕. ช่วยให้เกิดรายรับเงินตราต่างประเทศ ( Foreign Exchange Earning )เกิดขึ้นเฉพาะนักท่องเที่ยวต่างชาตินำเงินตราเข้าประเทศทันทีที่มีการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว ( Fresh Money )ในประเทศที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยเฉพาะเงินของสหรัฐอเมริกา เงินเยนญี่ปุ่น เงินปอนด์อังกฤษ จะมีค่าแลกเปลี่ยนในอัตราที่สูงมาก
๖. ช่วยให้เกิดภาวะดุลชำระเงิน ( Balance of Payment )หากประเทศใดมีแหล่งนักท่องเที่ยวและนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวนมากจะมีแนวโน้มรายรับของประเทศมากเปรียบเทียบกับการส่งสิ้นค้าออกของประเทศ
ด้านลบ
๑. ค่าครองชีพของคนในพื้นที่สูงเพิ่มสูงขึ้น ( Increase of Living Expenses )เกิดความลำบากในการดำเนินชีวิต จาการนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไปใช้ในสถานที่จำนวนมากก็จะส่งผลกระทบทำให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น
๒. ราคาที่ดินแพงขึ้น เมื่อการท่องเที่ยวเข้ามาทำให้ราคาสูงขึ้นเป็นเท่าตัว
๓. มีค่าใช้จ่ายต่างๆที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศเพื่อตอยสนองความต้องการนักท่องเที่ยวต่างชาติ
๔. ทำให้สูญเสียรายได้ออกนอกประเทศ การเดินทางท่องเที่ยวไปยังต่างประเทศทำให้เงินตรารั่วไหลออกนอกประเทศจำนวนมหาศาล
๕. รายได้จากธุรกิจท่องเที่ยวต่างๆ เป็นไปตามฤดูกาล ต้องสามารถอดทนให้อยู่รอดในช่วง Low season หรือการทำให้มีรายได้จากการท่องเที่ยวตลอดปี
ผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อสังคม
ด้านบวก
๑. เป็นการพักผ่อนหย่อนใจของบุคคลซึ่งจะช่วยลดความตรึงเครียดจากการทำงานพร้อมๆกับการแสวงหาความรู้ในเรื่องของแหล่งท่องเที่ยว
๒. ช่วยให้เกิดสันติภาพแห่งมลมนุษย์และช่วยกระตุ้นความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคลิกในชาติต่างๆ
๓. ช่วยให้ประชาชนได้เห็นถึงความสัมพันธ์ของศิลปวัฒนธรรมประเพณีของแต่ล่ะท้องถิ่นที่เดินทางไปถึงทำให้ทราบถึงอารยธรรมที่แตกต่างกันออกไป
๔. มาตรฐานการครองชีพดีขึ้น สืบเนื่องมาจากผลของเศรษฐกิจที่ก่อให้เกิดรายได้ แก่ชุมชนท้องถิ่นทั้งการจ้างงานในโรงแรม ร้านอาหาร การขนส่ง บริการนำเที่ยว
๕. คนในท้องถิ่นได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น จากสาธารณูโภคและสาธารณูปการในแหล่งท่องเที่ยวและบริเวณใกล้เคียง
๖. ช่วยเสริยมอาชีพให้แก่คนในท้องถิ่น การกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น การจ้างงาน ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น
๗. ช่วยให้สภาพแวดล้อมท้องถิ่นดีขึ้น ถ้าสถานที่ท่องเที่ยวสกปรก เสื่อมโทรม ความไม่ปลอดภัยก็จะไม่มีนักท่องเที่ยวเที่ยวชม
๘. การเดินทางท่องเที่ยวจะช่วยให้เกิดสันติภาพแห่งมวลมนุษย์ ดังคำกล่าวที่ว่า “การท่องเที่ยวเป็นหนทางไปสู่สันติภาพ”
๙. การท่องเที่ยวจะช่วยลดปัญหาการอพยพเข้าไปทำงานในเมืองหลวง
ด้านลบ
๑. ความรู้สึกที่ไม่ดีต่อคนในท้องถิ่นจากนักท่องเที่ยว บางครั้งนักท่องเที่ยวทำให้คนในท้องถิ่นรู้สึกว่าตนเองเป็นคนชนบทต่ำต้อย
๒. การมีค่านิยมผิดๆ การเลียนแบบนักท่องเที่ยว เช่น ไม่อยากทำงาน อยากไปเที่ยวแบบนักท่องเที่ยว
๓. โครงสร้างครอบครัวเปลี่ยนแปลงไปเมื่อท้องถิ่นกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวความสัมพันธ์ในครอบครัวลดลง
๔. การลบเลือนอาชีพดั้งเดิมของท้องถิ่น ก่อนที่จะมีการท่องเที่ยวเข้ามาในท้องถิ่นชาวบ้านส่วนมากทำไร่ทำนา
๕. ก่อให้เกิดปัญหาการก่ออาชญากรรม เช่น การทะเลาะวิวาทกันในสถานที่บันเทิง การโจรกรรม
๖. ปัญหาโสเภณีและเพศพาณิชย์ ถูกขนานนามว่าเป็น อาชีพที่เก่าแก่ที่สุดในโลก
๗. ปัญหาการบิดเบือนหลอกลวงเอารัดเอาเปรียบนักท่องเที่ยว
๘. ปัญหาความไม่เข้าใจกันและการขัดแย้งระหว่างคนในท้องถิ่น เมื่อมีการท่องเที่ยวเข้ามาในท้องถิ่น
๙. ช่วยให้เกิดการก่อสร้างสิ่งดึงดูดใจด้านการพักผ่อนในพื้นที่
๑๐.ปัญหาต่างๆ เช่น ยาเสพติดเข้ามากับนักท่องเที่ยวต่างชาติ หรือการขายยาให้กับนักท่องเที่ยวต่างชาติ
ผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อวัฒนธรรม
ด้านบวก
๑. เกิดงานเกี่ยวกับเทศกาลท่องเที่ยว วัฒนธรรมถูกรื้อฟื้นหรือไม่เลือนรางจางหายไป
๒. มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนาและนักท่องเที่ยวมากขึ้น วัฒนธรรมมีส่วนเกี่ยวข้องกับศาสนาค่อนข้างมาก
๓. ช่วยเผยแพร่เอกลักษณ์ประเทศ
๔. เกิดความเชื่อถือของชาวบ้าน อาทิ เรื่องบาป บุญ คุณ โทษ
ด้านลบ
๑. คุณค่าของงานศิปะลดลง
๒. วัฒนธรรมประเพณีที่ถูกนำมาเสนอขายในรูปแบบของสินค้าเน้นกาตอบสนองแก่นักท่องเที่ยว
๓. เกิดการตระหนักด้านวัฒนธรรม ( Culture Shock )
๔. การยอมรับและเลียนแบบพฤติกรรมนั้น ( Demonstration Effect )
อย่างไรก็ตาม เมื่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวขยายตัวมากขึ้น จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น ผู้ประกอบการมากขึ้น สิ่งที่ตามมาคือผลกระทบดังกล่าว ผลกระทบดังกล่าวมีผลทำให้การท่องเที่ยวเป็นไปในลักษณะที่ไม่ยั่งยืน การที่จะทำให้นักทองเที่ยวอยู่ต่อไปได้นานๆชั่วลูกชั่งหลาน คำพูดที่ว่า “ ใช้ไปด้วย ดูแลรักษาไปด้วย” และการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ( Sustainable Tourism Development )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น