แนวโน้มและรูปแบบทางการท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน
การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
ความหมายและแนวคิด
การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน มีความจำเป็นในการรักษาความสมดุลของทรัพยากรการท่องเที่ยว โดยใช้ทรัพยากรอันทรงคุณค่าอย่างชาญฉลาด สามารถรักษาเอกลักษณ์ของธรรมชาติและวัฒนธรรมไว้นานที่สุด เกิดผลกระทบน้อยที่สุด และใช้ประโยชน์ได้ตลอดไป
แนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน
พิจารณาได้ 4 ประการคือ
1. การดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยวในขอบเขตของความสามารถของธรรมชาติชุมชนขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนต่อกิจกรรมการท่องเที่ยว
2. การตระหนักในกิจกรรมการท่องเที่ยวที่มีผลกระทบต่อชุมชนขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน
3. การมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมการท่องเที่ยวที่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศชุมชน ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่มีต่อการท่องเที่ยว
4. การประสานความต้องการทางเศรษฐกิจ การคงอยู่ของสังคม และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
ควรคำนึงถึงองค์ประกอบ 3 ประการ
1. เป็นการจัดการท่องเที่ยวที่มีจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศนั้นๆ
2.เป็นการจัดการการท่องเที่ยวที่สร้างความรู้และให้ความรู้
3.เป็นการจัดการการท่องเที่ยวที่ประชาชนในท้องถิ่นมีบทบาท มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ร่วมจัดทำและร่วมได้รับผลประโยชน์อย่างเสมอภาค
ความสำคัญของการจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
1. เพื่อให้การใช้ทรัพยากรการท่องเที่ยวเป็นไปอย่างคุ้มค่า และมีประสิทธิภาพสูงสุด
2.เพื่อรักษาทรัพยากรการท่องเที่ยวคงอยู่อย่างยั่งยืน
3.เพื่อป้องกันผลกระทบต่างๆที่จะเกิดขึ้นกับทรัพยากรการท่องเที่ยวในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
หลักการจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
1. อนุรักษ์และใช้ทรัพยากรอย่างพอดี
2. ลดการบริโภคและใช้ทรัพยากรที่เกินความจำเป็นและลดการก่อของเสีย
3. รักษาและส่งเสริมความหลากหลายของธรรมชาติ สังคมและวัฒนธรรม
4. การประสานการพัฒนาการท่องเที่ยว
5. ต้องนำการท่องเที่ยวขยายฐานเศรษฐกิจในท้องถิ่น
6. การมีส่วนร่วม การสร้างเครือข่ายพัฒนาการท่องเที่ยวกับท้องถิ่น
7. ประชุมปรึกษาหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน
8. การพัฒนาบุคลากร
9. จัดเตรียมคู่มือบริการข่าวสารการท่องเที่ยวให้พร้อม
10.ประเมิน ตรวจสอบ และวิจัย
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(Eco tourism)
ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 6 ประการ คือ
1. เป็นการท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น
2. เป็นการท่องเที่ยวในแหล่งวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับระบบนิเวศ
3. มีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างมีระบบ
4. มีการจัดการด้านการให้ความรู้
5. มีความรับผิดชอบโดยผู้เป็นเจ้าของแหล่งท่องเที่ยว
6. เป็นการท่องเที่ยวที่ทำให้นักท่องเที่ยวได้รับความเพลิดเพลินและความประทับใจ
ประเภทของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
1. การท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางยก ได้แก่ การเดินป่า การปีนเขา การศึกษาธรรมชาติ การส่องสัตว์ การดูนก การขี่ม้า นั่งช้าง เที่ยวถ้ำ เที่ยวที่น้ำตก เป็นต้น
2. การท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางทะเล ได้แก่ การดำน้ำดูปะการัง การล่องแก่ง การพยาเรือแคนู การท่องเที่ยวชมหมู่บ้านชาวประมง การเที่ยวชมป่าชายเลน เป็นต้น
การท่องเที่ยวเชิงเกษตร(Agro tourism)
มีลักษณะสำคัญดังนี้
1. เป็นการท่องเที่ยวที่มุ่งความสนใจไปยังกิจกรรมการเกษตรหรือสภาพแวดล้อมทางการเกษตรเป็นหลัก
2. เป็นการท่องเที่ยวไปยังแหล่งท่องเที่ยวที่มีวัตถุประสงค์ทางการเกษตรเป็นหลัก
3. เป็นการท่องเที่ยวที่มีการจัดระบบการให้บริการไว้รองรับนักท่องเที่ยวที่ได้มาตรฐาน
4. เป็นการท่องเที่ยวที่มีกลไกกระจายรายได้ไปยังเกษตรกร
5. เป็นการท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวสามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเกษตรกรในด้านของกระบวนการประกอบอาชีพเกษตรกรรม
6. เป็นการท่องเที่ยวที่ก่อให้เกิดความพึงพอใจต่อการได้รับความรู้ เกิดการพักผ่อนหย่อนใจ การสร้างเสริมการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและธรรมชาติท้องถิ่น
ประเภทของการท่องเที่ยวเชิงเกษตร
แบ่งตามการประกอบกิจกรรมทางการเกษตรได้ดังนี้
1. การกสิกรรม
- การทำนา
- การเกษตรแบบผสมผสาน ได้แก่ การปลูกผักร่วมกับผลไม้
- การทำสวนผลไม้
- สวนไม้ดอกไม้ประดับ
- ศูนย์การศึกษาและการวิจัยทดลอง
- ตลาดการเกษตร
2. การประมง
- แหล่งผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำต่างๆ เช่น ฟาร์มกุ้ง บ่อเลี้ยงปลา
- การเยี่ยมชมวิถีชีวิตชาวประมง
3. การปศุสัตว์
แบ่งเป็น การเลี้ยงสัตว์ใหญ่ สัตว์เล็ก และสัตว์ปีก
กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร
1. การเที่ยวชมสวนเกษตร
2. การนำเที่ยวเทศกาลงานวันเกษตร
3. การนำเที่ยวชมฟาร์มปศุสัตว์ต่างๆ
4. การนำชมการทำนาแบบดั้งเดิม
5. การนำชมหมู่บ้านชาวประมง
6. การพักแรมในหมู่บ้านเกษตรกร
7. การนำเที่ยวชมศูนย์ทดลองทางการเกษตรต่างๆ
การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ(Health tourism)
เป็นการท่องเที่ยวเพื่อบำบัดโรคหรือบำรุงสุขภาพกายหรือสุขภาพจิตของนักท่องเที่ยว
มี 3 ประเภท คือ
1. การท่องเที่ยวเพื่อรักษาโรคของนักท่องเที่ยว คือการเดินทางเพื่อรักษาโรคโดยมีจุดประสงค์จะเข้ารักษาในโรงพยาบาลหรือสถานรักษาอื่นๆ
2. การท่องเที่ยวเพื่อฟื้นฟูสุขภาพของนักท่องเที่ยว คือการเดินทางมาพักผ่อนในที่ๆมีอากาศบริสุทธิ์ เป็นธรรมชาติ
3. การท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมสุขภาพของนักท่องเที่ยว เช่น การไปอาบน้ำแร่หรือสปา การนวดแผนโบราณ เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีการท่องเที่ยวที่ส่งเสริมสุขภาพจิตเช่น นั่งสมาธิ การศึกษาธรรมะ เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น